เนื่องจากบริษัทออกกฏระเบียบเพื่อความปลอดภัย โดยห้ามพนักงานทุกคนเดินทางไปต่างประเทศ ทุกประเทศ หากพนักคนคนใดหลบเลี่ยง ปกปิด แจ้งข้อมูลเท็จ ฝ่าฝืนเดินทางไปต่างประเทศ จะถือว่าเป็นความผิดวินัยร้ายแรงของบริษัท และต้องได้รับโทษตามกฏของบริษัท
มีเรื่องของปรึกษาดังนี้ครับ
1. หากประเทศที่เดินทางไป ไม่ใช่ 8-9 ประเทศเสี่ยงที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้ การเดินทางไปประเทศที่ไม่เสี่ยงจะมีความผิดร้ายแรงเหมือนประเทศที่เสี่ยงหรือไม่ครับ
2.เนื่องจากประเทศที่เดินทางไม่ใช่ประเทศเสี่ยง ดังนั้นสายการบิน และโรงแรม รวมถึงรถไฟที่จองไว้ แจ้งว่าไม่สามารถขอเลื่อน/คืนเงินให้ได้ โดยผู้เดินทางชำระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปหลายหมื่นบาท ซึ่งการห้ามการเดินทางของบริษัททำให้เกิดความเสียหายได้ สามารถเรียกร้องความเสียหายจากประกาศของบริษัทได้หรือไม่ครับ
3. หากฝ่าฝืนเดินทางไปต่างประเทศจริง โดยไ ปประเทศที่ไม่เสี่ยง เมื่อกลับมาทางบริษัทสามารถลงโทษความผิดวินัยร้ายแรงโดยการไล่ออกจากงาน ได้หรือไม่ครับ ตามกฏหมายแรงงานแล้ว บทลงโทษทางวินัยสูงสุดถึงขั้นไล่ออกหรือไม่ครับ
กรณีตามคำถามของคุณโกมินทร์ ทนายขอตอบดังต่อไปนี้
ตอบ : เนื่อง ณ ขณะนี้มีโรคไวรัสได้แพร่ระบาดไปในหลายๆ ประเทศเกือบจะทั่วโลกแล้ว ซึ่งทั้งหน่วยงานของรัฐและของเอกชนก็ต่างออกประกาศห้ามการเดินทางไปกลุ่มประเทศที่เสี่ยงกับการติดเชื้อ ทั้งนี้ก็เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
1.การเดินทางไปในประเทศที่ไม่เสี่ยงหากฝ่าฝืนประกาศของบริษัทฯ ก็คงมิใช่ความผิดร้ายแรง
2.การสั่งห้ามเป็นกรณีที่นายจ้างมีเหตุผลในการออกประกาศ มิได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งพนักงานหรือมีเจตนาที่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างแต่มุมกลับถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างได้ปกป้องมิให้ลูกจ้างต้องติดเชื้อโรค และเป็นพาหนะนำเชื้อมาแพร่ให้กับบุคคลอื่น ในความคิดส่วนตัว หากคุณเสียหายแล้วคุณจะมาเรียกร้องเอาแก่นายจ้าง ทนายคิดว่าถ้าคุณฟ้องร้องเชื่อว่าศาลคงไม่กำหนดค่าเสียหายให้แก่คุณนะครับ
3.คุณฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างเดินทางไปประเทศที่ไม่เสี่ยง แต่หากกลับมาคุณไม่ติดเชื้อไว้รัส นายจ้างเลิกจ้างคุณนายจ้างก็คงจะต้องจ่ายเงินชดเชย แต่หากคุณติดเชื้อไวรัสมาด้วย กรณีนี้นายจ้างน่าจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องจายเงินชดเชยก็ได้เหมือนกัน
ทนายป๊อด
3/4/2020 2:34:16 PM