ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่า
“ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือสถาพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ในกรณีนายจ้างจัดแพทย์ไว้ให้แพทย์นั้นต้องเป็นผู้ออกใบรับรองเว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้
วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจาการทำงานและวันลาเพื่อการคลอดบุตรตามมาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้”
อ่านตัวบทกฏหมายแล้วไม่สับสนนะครับเพราะเขาเขียนไว้อย่างละเอียดมากแล้วบอกวิธีการแก้ไขให้เรียบร้อย แต่ในตัวบทเขาเน้นว่าจะต้องเจ็บป่วยจริง นะครับ การเจ็บป่วยจริงเราก็สามารถพิสูจน์ได้ทางการแพทย์เช่นเป็นไข้หวัด เป็นโรคติดต่อต่าง ๆ ดังนั้นพนักงานท่านใดคิดหัวใสอ้างว่าป่วยแต่แท้จริงไม่ป่วยอย่างนี้พนักงานท่านนั้นจะต้องระวังให้จงดีเพราะท่านกำลังทำผิดนะครับ หากนายจ้างเขาสามารถจับได้ว่าท่านป่วยไม่จริง ท่านก็จะต้องลูกลงโทษทางวินัย ในข้อหาว่าละทิ้งหน้าที่ หากเกิน 3 วัน ท่านอาจจะต้องนั่งคอตกเพราะอาจตกงานได้ ในเรื่องนี้มีคำพิพากษาฏีกาวางแนวทางไว้หลายเรื่องครับ
โดย ทนายป๊อด www.tanaypod.com
บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างไรเรียกว่าลาป่วยเท็จ?
นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างได้หรือไม่
คำว่าเลิกจ้างนั้นมีความสำคัญกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างไร
ความเห็นของผู้ชม